หลักความเชื่อ 10 ประการ

นั่นไง พันทิปแปลงรหัสให้จริงด้วย

ผมเรียกฟีเจอร์นี้ว่า ฟีเจอร์กาลามสูตร

ปรากฎว่ามีคนมาเม้นต์ตามหลังเพียบ และรีบกดแก้ไขข้อความของตัวเองอีกเพียบเช่นกัน
พร้อมกันนั้นคนเม้นต์เป็นร้อย พากันแจกก้อนอิฐให้ผมซะครึ่งกระทู้ ทั้งโกรธทั้งด่า(แก้เกี้ยว)
ว่าคุณจะรับผิดชอบไหวมั้ย ถ้าไอดีผมถูกแฮ็คและนำไปใช้ในทางผิดๆ

ผมเลยไปอธิบายว่า
       “เคยคิดมั้ยครับว่า ทุกครั้งตอนเราดูข่าวที่มีคนถูกแก๊งค์ call center หลอกให้โอนเงิน เรานั่งดูหรืออ่านข่าว เราก็จะคิดว่าคนบ้าอะไรวะ โง่ให้เขาหลอกแถมโอนเงินให้เขาอีก พอเจอกับตัวเองรู้สึกยังไงครับ

ขนาดเราๆที่คิดว่าตัวเองฉลาดก็ยังพลาดได้ ที่ข้างนอกนั่นมีเรื่องราวโกหกและไม่เป็นอย่างที่เห็นหรือได้ยินอยู่มากมาย

บางคนถูกหลอกเพราะ greedy (นี่เป็นสายจากสรรพากรนะคะ ทางเราจะโอนเงินคืนภาษีให้คุณ…)
บางคนถูกหลอกเพราะ panic (ศูนย์กลางธนาคารแห่งประเทศไทย [ตอนมันโทรหาผมมันใช้ชื่อนี้จริงๆนะครับ] ขณะนี้ท่านมียอดค้างชำระบัตรเครดิตจำนวน…บาท ฟังซ้ำกด 1 ติดต่อเจ้าหน้าที่กด 9)

บางคนถูกหลอกเพราะบริสุทธิ์ใจ คิดว่าคนอื่นจะจริงใจเหมือนเรา เช่นที่ถูกหลอกให้พิมพ์รหัสผ่าน เป็นต้น”


 วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)

หลักธรรมในพระพุทธศาสนานี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ ที่อาศัยอยู่ในเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล เนื่องจากในสมัยนั้นมีผู้อวดอ้างตนในคุณวิเศษกันมากเชิดชูแต่ลัทธิของตัว พูดจากระทบกระเทียบดูหมิ่นลัทธิอื่น พร้อมทั้งชักจูงมิให้เชื่อลัทธิอื่น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเกสปุตตนิคมดินแดนที่เต็มไปด้วยผู้อวดอ้าง   ชาวกาลามะได้ทูลถามด้วยความสงสัยว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ ?

พระพุทธองค์จึงทรงแสดงกาลามสูตร ว่าด้วย วิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนสงสัย
หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ เป็นหลักตัดสิน คือ

– อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
– อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา

– อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
– อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
– อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
– อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
– อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
– อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
– อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
– อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

budha0        เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษเมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ  ดังนั้น พระสูตรนี้ท่านมิได้ห้ามมิให้เชื่อ แต่ให้เชื่อด้วยมีปัญญาประกอบด้วยมิฉะนั้นความเชื่อต่างๆ จะไม่พ้น”ความงมงาย” และไม่พึงแปลความเลยเถิดไปว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้ และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้แต่พึงเข้าใจว่า   แม้แต่สิ่งเหล่านี้ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่า..เป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านก็ยังเตือนไม่ให้ปลงใจเชื่อ  ไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาดยังอาจผิดพลาดได้ ต้องใช้ปัญญาคิดพิจารณาให้ดีก่อน

…..แม้กระทั่งสิ่งอันตนรวมเหตุรวมผลให้เชื่อ..ท่านยังให้ระมัดระวังว่าอย่าเพิ่งปักใจเชื่อในทั้งหมด
…..แล้วสิ่งอื่นคนอื่นให้มาชักจูงชี้นำ เราจะต้องคิดต้องพิจารณาระมัดระวังให้มากสักเพียงไหน??

ใส่ความเห็น